วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การขจัดคราบน้ำมันดิบด้วย "ทุ่นเส้นผม" ได้ผลหรือไม่?

                                   
                     
       หลังจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ก็ได้มีสื่อออนไลน์ ต่างๆรวมถึงคลิป VDO ที่ได้สาธิตบอกถึงวิธีแก้ไขการซับคราบน้ำมันด้วย "ทุ่นเส้นผม" หรือ  "Hair Boom" จะใช้ได้ผลกับ สถานการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นของประเทศไทยในขณะนี้ได้หรือไม่ จึงกลายเป็นข้อถกเถียง และสงสัยจากหลายๆฝ่าย ที่ออกมาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

     
       ซึ่งทางผู้ช่วยศาสราจารย์ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการใช้งาน GT200 กล่าวถึงกรณีที่โลกออนไลน์ แชร์ข้อมูลการกำจัดคราบน้ำมัน โดยใช้เส้นผมรวมกันใส่ในถุงน่องว่า วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ เพราะเส้นผมไม่มีศักยภาพที่ดีเพียงพอ หรือเห็นผลในการดูดซับน้ำมันดิบจำนวนมหาศาลได้

พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์กรฯ ที่เผยแพร่คลิปนี้ เนื่องจากไม่มีความน่าเชื่อถือ และย้ำว่าการรณรงค์ผ่านโลกออนไลน์ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน 


ทั้งนี้ คลิปที่แชร์กันนั้น มีที่มาจาก Matter of Trust เอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่วิธีการทำทุ่นจากเส้นผม โดยมีการออกแคมเปญขอรับบริจาคเส้นผมจากประชาชน ร้านทำผม และร้านตัดขนสุนัขทั่วสหรัฐฯ เพื่อนำมายัดใส่ถุงน่อง หรือถุงไนล่อน ทำเป็นทุ่นดักจับคราบน้ำมัน ตอนที่เกิดเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งถือเป็นการรั่วไหลของน้ำมันครั้งที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งนึงเลยทีเดียว


ในช่วงเวลานั้น ทำให้คนอเมริกันแห่กันบริจาคเส้นผมและขนสุนัขกันอย่างล้นหลาม มีเส้นผมที่ได้รับบริจาคกว่า 2 แสนกิโลกรัม ร่วมๆ 200ตัน และมีการจิตอาสาช่วยกันทำทุ่นเส้นผม หรือแฮร์บูม ทั้งจากภาครัฐและเอกชน


แต่ ผลของการทำ "ทุ่นเส้นผม" หรือ "Hair Boom" นั้นไม่เป็นไปตามที่หวัง เมื่อทางบริษัท (BP) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำจัดคราบน้ำมัน เพราะเป็นเจ้าของแท่นขุดเจาะที่ระเบิด ทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างทุ่นเส้นผม กับทุ่นซับน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ทุ่นเส้นผมกลับอมน้ำมากกว่าและไม่ค่อยดูดซับน้ำมัน รวมถึงจมน้ำเร็ว ไม่เหมือนทุ่นดูดซับน้ำมันปกติ

ด้วยเหตุนี้ ทาง (BP) จึงปฏิเสธไม่ใช้ทุ่นเส้นผมในการขจัดคราบน้ำมัน เนื่องจากต้องการใช้เฉพาะวิธีที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และได้ขอให้ประชาชนยกเลิกการบริจาคเส้นผมและทุ่นเส้นผมด้วย

นอกจากวิธีกำจัดน้ำมันด้วย "ทุ่นเส้นผม" แล้ว มีอีกวิธีหนึ่งครับ นั่นคือการใช้ Bio Dispersant (ไบโอ ดิสเพอร์แซนท์) หรือสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ ซึ่งกระทรวงวิทยาสศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค เป็นผู้ประสานงานกับภาคเอกชน ที่นำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ในชื่อ "KEEEN" (คีนน์)  



คุณสมบัติเด่นของสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ คือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาจากแหล่งน้ำมันดิบธรรมชาติ จะทำหน้าที่ย่อยสลายน้ำมันให้กลายเป็น เอชทูโอ หรือน้ำ และ ซีโอทู หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่างจากการใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน ที่ยังคงหลงเหลือสารพิษอยู่ในระบบนิเวศ




การสาธิตนี้ แสดงให้ประสิทธิภาพของสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ จะเห็นว่าน้ำมันเกาะตัวลอยเหนือน้ำ ขณะที่ด้านซ้ายเทน้ำผสมสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ ปรากฎว่า น้ำมันเกิดการแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ ก่อนที่จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายไปจนหมดเพียงไม่กี่นาที

ส่วนแผนการกำจัดคราบน้ำมันที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ดในครั้งนี้ นายวสันต์ ประเมินว่าจะต้องใช้ 3 ขั้นตอนคือ การจำกัดพื้นที่การแพร่กระจายของน้ำมันดิบ  การฉีดพ่นสารชีวภาพบนผิวน้ำ-โขดหิน และการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวทรายริมชายฝั่ง 
  
วันที่ 31 กรกฎาคม จะร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ไบโอเทค สำรวจและประเมินพื้นที่กำจัดคราบน้ำมัน จากนั้นเสนอแผนให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาอนุมัติ หากไม่มีเรื่องติดขัดคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในวันพฤหัสบดีนี้เป็น อย่างช้า เนื่องจากหากปล่อยให้น้ำมันปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานเกินไป อาจส่งผลต่อระบบนิเวศโดยภาพรวม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น