วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประกาศเตือนจาก NASA สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว



 วันนี้(7ส.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ว่าอีกไม่เกิน 3-4 เดือนจะเกิดเหตุการณ์สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์สลับขั้ว 




สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้วซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก,การเกิดพายุและอาจทำให้ดาวเทียมเสีย หายได้ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุก 11 ปี และเป็นวัฏจักรทั่วไปของดวงอาทิตย์

ด้าน ดร. ท็อดด์ ฮุกเซมา นักฟิสิกส์สุริยะ แห่งมหาวิทยาลัยสเตนฟอร์ด ได้เปิดเผยว่าการสลับขั้วสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยน แปลงไปทั่วทั้งระบบสุริยจักรวาล รวมไปถึงนักวิจัยบางคนเชื่อว่า รังสีนี้อาจสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกด้วย

นอกจากนี้ยังส่งผลต่อรังสีคอสมิก ทำให้อนุภาคของมันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับแสง อาจจะส่งผลให้เป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศ และสถานีอวกาศ






 ขอบคุณข้อมูล
 MthaiNews

 

                         รสชาติเนื้อเพาะในแล็บใกล้เคียงเนื้อวัวจริง 

 



   อาสาสมัครเผยรสชาติเนื้อเพาะในห้องแล็บชิ้นแรกของโลกใกล้เคียงเนื้อวัวของจริง
เชฟสาธิตการปรุงเบอร์เกอร์เนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์กล้ามเนื้อของ วัวมีชีวิตในห้องแล็บ ที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ และมีการแพร่ภาพถ่ายทอดสดและมีอาสาสมัคร 2 คน ร่วมชิมเบอร์เกอร์ราคาแพงที่สุดในโลกชิ้นนี้ที่มีต้นทุนการผลิตสูงถึง 332,000 ดอลลาร์หรือเกือบ 10 ล้านบาท

ฮันนี รูเอ็ตสเลอร์ นักโภชนาการชาวออสเตรีย หนึ่งในอาสาสมัคร บอกว่า รสชาติคล้ายกับเนื้อวัวจริงๆมาก เพียงแต่ยังไม่ชุ่มฉ่ำเท่า แต่ก็ถือว่ามีเนื้อสัมผัสที่เหมือนดีทีเดียว
ส่วนจอช ชอนวอลด์ นักข่าวชาวอเมริกัน บอกว่า สิ่งที่ขาดหายไป คือ ไขมัน แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่า ให้ความรู้สึกเหมือนกินเนื้อจากวัวที่เลี้ยงตามธรรมชาติจริงๆ

มาร์ก โพสต์ นักชีววิทยาและหัวหน้าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย มาสทริตช์ ที่คิดค้น การผลิตเนื้อวัวในห้องแล็บ ยอมรับว่า ขณะนี้เรายังไม่สามารถใส่ไขมันลงไปในเนื้อได้ ซึ่งน่า จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ แต่เมื่อมองภาพรวมแล้วก็ถือว่าใกล้เคียงเนื้อวัวของจริงทีเดียว

ในการผลิตเนื้อสำหรับเบอร์เกอร์น้ำหนัก 140 กรัมชิ้นนี้ ทีมวิจัยใช้เวลาศึกษาวิจัยนานถึง 5 ปี โดยมีเงินทุนสนับสนุนจากเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิ้ล นักวิจัยนำเอาสเต็มเซลล์กล้ามเนื้อ จากวัวมีชีวิต มาเพาะเลี้ยงในสารละลายที่เปี่ยมด้วยธาตุอาหาร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัว ของเซลล์
นายโพสต์ ยืนยันว่า เนื้อที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อในห้องแล็บมีความปลอดภัยสามารถบริโภคได้
















ภาพ/เอเอฟพี
http://www.posttoday.com

พัดลมยักษ์ สูแก๊สน้ำตา


 
       เสื้อแดง แฉ อพส.ทำพัดลมยักษ์สู้แก๊สน้ำตา 50 เครื่องในการชุมนุม
       วันที่ 4 ส.ค.นี้ หลังม็อบครั้งที่แล้วเจอแก๊สน้ำตาไล่กระเจิง


          พ.ต.ท.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่าวันดีเดย์นัดชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาล นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 4 ส.ค.นี้  กลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม (อพส.) นำโดย 2 เสนาธิการทหาร คือ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ  ซึ่งได้รับรายงานว่าในการชุมนุมครั้งนี้ มีการระดมคนและมีการประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่มาร่วมชุมนุม "เครื่องสู้แก๊สน้ำตา" จึงอยากเรียกร้องให้ยุติการกระทำดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น


ทั้งนี้เนื่องจากการชุมนุมครั้งก่อนพ่ายแพ้และเพลี่ยงพล้ำเพราะโดนแก๊ส น้ำตาไล่ แต่ มารอบนี้ ม็อบสนามม้า สั่งทำเครื่องไล่แก๊สน้ำตา จำนวน 50 เครื่อง ไว้เป็นทัพหน้าปะทะตำรวจจากกองบังคับการอารักขาและ ควบคุมฝูงชน (อคฝ.) โดย พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบ.ชน. จะนำแผนกรกฎ 52 มาปิดล้อมและป้องทำเนียบรัฐบาล กับรัฐสภาประมาณ จำนวน 3 กองร้อย


ทั้งนี้เครื่องดังกล่าวประดิษฐ์ด้วยราคาเครื่องละ 8,000 บาท ผลิตที่อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ด้วยการนำเครื่องยนต์ขนาดเล็กมาติดตั้งใบพัดขนาดใหญ่ โดยมีฐานเป็นรถเข็นเล็กๆเพื่อเคลื่อนที่ได้เร็วลากเข็นจูงเก็บพับได้ง่าย ซึ่งคล้ายกับเครื่องยนต์ของพารามอเตอร์ โดยเครื่องยนต์รุ่นนี้ใช้น้ำมันดีเซลในการขับเคลื่อนโดยมีกำลังแรงม้าสูง เท่าๆกับเครื่องยนต์รถอีแต๋นสามารถเป่าไล่ควันแก๊สน้ำตาได้  














ขอขอบคุณ
http://www.posttoday.com

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การขจัดคราบน้ำมันดิบด้วย "ทุ่นเส้นผม" ได้ผลหรือไม่?

                                   
                     
       หลังจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ก็ได้มีสื่อออนไลน์ ต่างๆรวมถึงคลิป VDO ที่ได้สาธิตบอกถึงวิธีแก้ไขการซับคราบน้ำมันด้วย "ทุ่นเส้นผม" หรือ  "Hair Boom" จะใช้ได้ผลกับ สถานการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นของประเทศไทยในขณะนี้ได้หรือไม่ จึงกลายเป็นข้อถกเถียง และสงสัยจากหลายๆฝ่าย ที่ออกมาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

     
       ซึ่งทางผู้ช่วยศาสราจารย์ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการใช้งาน GT200 กล่าวถึงกรณีที่โลกออนไลน์ แชร์ข้อมูลการกำจัดคราบน้ำมัน โดยใช้เส้นผมรวมกันใส่ในถุงน่องว่า วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ เพราะเส้นผมไม่มีศักยภาพที่ดีเพียงพอ หรือเห็นผลในการดูดซับน้ำมันดิบจำนวนมหาศาลได้

พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์กรฯ ที่เผยแพร่คลิปนี้ เนื่องจากไม่มีความน่าเชื่อถือ และย้ำว่าการรณรงค์ผ่านโลกออนไลน์ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน 


ทั้งนี้ คลิปที่แชร์กันนั้น มีที่มาจาก Matter of Trust เอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่วิธีการทำทุ่นจากเส้นผม โดยมีการออกแคมเปญขอรับบริจาคเส้นผมจากประชาชน ร้านทำผม และร้านตัดขนสุนัขทั่วสหรัฐฯ เพื่อนำมายัดใส่ถุงน่อง หรือถุงไนล่อน ทำเป็นทุ่นดักจับคราบน้ำมัน ตอนที่เกิดเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งถือเป็นการรั่วไหลของน้ำมันครั้งที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกครั้งนึงเลยทีเดียว


ในช่วงเวลานั้น ทำให้คนอเมริกันแห่กันบริจาคเส้นผมและขนสุนัขกันอย่างล้นหลาม มีเส้นผมที่ได้รับบริจาคกว่า 2 แสนกิโลกรัม ร่วมๆ 200ตัน และมีการจิตอาสาช่วยกันทำทุ่นเส้นผม หรือแฮร์บูม ทั้งจากภาครัฐและเอกชน


แต่ ผลของการทำ "ทุ่นเส้นผม" หรือ "Hair Boom" นั้นไม่เป็นไปตามที่หวัง เมื่อทางบริษัท (BP) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการกำจัดคราบน้ำมัน เพราะเป็นเจ้าของแท่นขุดเจาะที่ระเบิด ทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างทุ่นเส้นผม กับทุ่นซับน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ทุ่นเส้นผมกลับอมน้ำมากกว่าและไม่ค่อยดูดซับน้ำมัน รวมถึงจมน้ำเร็ว ไม่เหมือนทุ่นดูดซับน้ำมันปกติ

ด้วยเหตุนี้ ทาง (BP) จึงปฏิเสธไม่ใช้ทุ่นเส้นผมในการขจัดคราบน้ำมัน เนื่องจากต้องการใช้เฉพาะวิธีที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และได้ขอให้ประชาชนยกเลิกการบริจาคเส้นผมและทุ่นเส้นผมด้วย

นอกจากวิธีกำจัดน้ำมันด้วย "ทุ่นเส้นผม" แล้ว มีอีกวิธีหนึ่งครับ นั่นคือการใช้ Bio Dispersant (ไบโอ ดิสเพอร์แซนท์) หรือสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ ซึ่งกระทรวงวิทยาสศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค เป็นผู้ประสานงานกับภาคเอกชน ที่นำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ในชื่อ "KEEEN" (คีนน์)  



คุณสมบัติเด่นของสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ คือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาจากแหล่งน้ำมันดิบธรรมชาติ จะทำหน้าที่ย่อยสลายน้ำมันให้กลายเป็น เอชทูโอ หรือน้ำ และ ซีโอทู หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่างจากการใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน ที่ยังคงหลงเหลือสารพิษอยู่ในระบบนิเวศ




การสาธิตนี้ แสดงให้ประสิทธิภาพของสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ จะเห็นว่าน้ำมันเกาะตัวลอยเหนือน้ำ ขณะที่ด้านซ้ายเทน้ำผสมสารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ ปรากฎว่า น้ำมันเกิดการแตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ ก่อนที่จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายไปจนหมดเพียงไม่กี่นาที

ส่วนแผนการกำจัดคราบน้ำมันที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ดในครั้งนี้ นายวสันต์ ประเมินว่าจะต้องใช้ 3 ขั้นตอนคือ การจำกัดพื้นที่การแพร่กระจายของน้ำมันดิบ  การฉีดพ่นสารชีวภาพบนผิวน้ำ-โขดหิน และการกำจัดคราบน้ำมันบนผิวทรายริมชายฝั่ง 
  
วันที่ 31 กรกฎาคม จะร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ไบโอเทค สำรวจและประเมินพื้นที่กำจัดคราบน้ำมัน จากนั้นเสนอแผนให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาอนุมัติ หากไม่มีเรื่องติดขัดคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในวันพฤหัสบดีนี้เป็น อย่างช้า เนื่องจากหากปล่อยให้น้ำมันปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานเกินไป อาจส่งผลต่อระบบนิเวศโดยภาพรวม
 

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คราบน้ำมันจากภาพถ่ายดาวเทียม จ.ระยอง



 จากสถานการณ์ของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม 2556 จากภาพถ่ายดาวเทียมและสถานีเรดาร์เพื่อการตรวจวัดคลื่นและกระแสน้ำชายฝั่ง


  เว็บไซต์ www.gistda.or.th ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) ได้เผยแพร่ภาพจากดาวเทียมระบบเรดาร์ COSMO-SkyMed-3 เมื่อเวลา 06.09 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ทางด้านเหนือของเกาะเสม็ด แสดงให้เห็นอาณาบริเวณของคราบน้ำมันที่เป็นฟิล์มที่มีขนาดและปริมาณลดลงจาก เมื่อวานนี้ จากประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เหลือ 5 ตารางกิโลเมตร และมีการหดตัวลงจนกระจายตัวไปไม่ถึงเกาะปลาตีน เกาะขาม และเกาะกุฎี
นอกจากนี้เริ่มเห็นผิวน้ำสีอ่อนแทรกตัวอยู่ในอาณาบริเวณของฟิล์มนี้  แสดงถึงความหนาแน่นของฟิล์มน้ำมันที่ลดลง ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่ามวลน้ำมันที่เป็นต้นกำเนิดของฟิล์มน้ำมันใน บริเวณนี้ น่าจะมีปริมาณลดลงมาก แต่ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้างในบริเวณตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ เสม็ด
สำหรับบริเวณชายฝั่งอ่าวเพด้านตะวันตกและแหลมหญ้า ซึ่งมีลักษณะที่คาดว่าอาจจะเป็นฟิล์มน้ำมันนั้น ยังไม่ได้รับรายงานจากการสำรวจภาคสนามว่าเกิดจากอะไร แต่จะได้เร่งดำเนินการสำรวจต่อไป

อ้างอิงจาก
http://www.dailynews.co.th/technology/223246